มหาดไทยอนุญาต “ต่างด้าว” เข้ามาทำงานประมงทะเล 22 จังหวัดเป็นกรณีพิเศษ 1 ปี

กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล 22 จังหวัด โดยให้ไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัว ภายใน 31 ต.ค. นี้ อยู่ได้ไม่เกิน 30 ก.ย. 2561

เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเลตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และไม่อยู่ในระหว่างการได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศ กระทรวงมหาดไทยฉบับอื่น ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลได้แก่ (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดชุมพร (6) จังหวัดตราด (7) จังหวัดตรัง (8) จังหวดนครศรีธรรมราช (9) จังหวัดนราธิวาส (10) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (11) จังหวัดปัตตานี (12) จังหวัดพังงา (13) จังหวัดเพชรบุรี (14) จังหวัดภูเก็ต (15) จังหวัดระนอง (16) จังหวัดระยอง (17) จังหวัดสมุทรปราการ (18) จังหวัดสมุทรสาคร (19) จังหวัดสมุทรสงคราม (20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (21) จังหวัดสงขลา และ (22) จังหวัดสตูล

ข้อ 2 คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้ไปรายงานตัวเพื่อดําเนินการ ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ใน 22 จังหวัด ชายทะเล ดังนี้

(1) ยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งตรวจสุขภาพ และประกันสุขภาพ

(2) เมื่อคนต่างด้าวได้หลักฐานการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ พร้อมทั้งเอกสาร ที่นายจ้างรับเข้าทํางานแล้ว ให้ไปยื่นคําขอรับหนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ได้ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ ไม่เกินวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 หน้า 29 เล่ม 134 ตอนพิเศษ 244 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 ตุลาคม 2560 เมื่อคนต่างด้าวได้รับหนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมงแล้ว ให้อยู่ใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

ข้อ 3 มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามข้อ 2

ข้อ 4 การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพ ไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์

(2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

(3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่

(ก) ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ หรือทางบก เพื่อไป ทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล

(ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจาก พนักงานสอบสวน หรือมีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือ หรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง แล้วแต่กรณี

(ค) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมประมงกําหนด โดยมี หนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง

(ง) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะไปทัศนศึกษาหรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน

(4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าว มีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่า เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

(5) ถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ การทํางานของคนต่างด้าวทราบ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง หน้า 30 เล่ม 134 ตอนพิเศษ 244 ง ราชกิจจานุเบกษา 3 ตุลาคม 2560 คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานในเรือประมงทะเล ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับหรือแก้ไข หนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง

ข้อ 5 การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไป ดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการ ดังนี้

(1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กําหนดให้กรมประมง หรือหน่วยงาน ในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และเลขที่หนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติเพื่อใช้เป็น เอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด

(2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติ และรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือ เดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมประมง หรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและเลขที่หนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง เพื่อใช้เป็น เอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน

ข้อ 6 มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือ รับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน

ข้อ 7 หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง

ข้อ 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

ข้อ 9 เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าว ดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

สาครออนไลน์ เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *