ส่องทางหลวงชนบทสมุทรสาคร พุทธสาคร ครองแชมป์ปริมาณจราจรสูงสุด

ภาพ : แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสาคร

เป็นประจำทุกปีที่สำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท จะจัดทำบัญชีโครงข่ายทางหลวงชนบท ประจำปีงบประมาณ เพื่อนำไปใช้งานพัฒนาโครงข่ายทาง และเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ ซึ่งปัจจุบันโครงข่ายสายทางมีกว่า 48,000 กิโลเมตร กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศ

ในปีงบประมาณ 2565 ที่กำลังจะมาถึง จังหวัดสมุทรสาครมีโครงข่ายสายทางของทางหลวงชนบท 45 สายทาง ระยะทางรวม 365.191 กิโลเมตร ประกอบด้วยถนนลาดยาง 201.359 กิโลเมตร และถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 163.832 กิโลเมตร

โดยทางหลวงชนบทที่มีปริมาณจราจรมากที่สุดในจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ ทางหลวงชนบท สค.1018 แยก ทล. 4 (กม.ที่ 21+700) – บ้านคลองมะเดื่อ หรือถนนพุทธสาคร ระยะทาง 7.445 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 50,000 คัน

อันดับ 2 ทางหลวงชนบท สค.4019 แยก ทล. 3091 (กม.ที่ 15+800) – บ้านวัดเกาะ หรือถนนเศรษฐกิจ-บางปลา ระยะทาง 10.019 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 24,930 คัน

อันดับ 3 ทางหลวงชนบท สค.5009 แยก ทช. สค.1018 (กม.ที่ 7+200) – บ้านแคราย หรือถนนแคราย ระยะทาง 5.467 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 17,804 คัน

อันดับ 4 ทางหลวงชนบท สค.5031 แยก ทช. สค.2004 (กม.2+200) – บ้านเจษฎาวิถี หรือถนนเจษฎาวิถี ระยะทาง 7.892 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 17,123 คัน

อันดับ 5 ทางหลวงชนบท สค.2004 แยก ทล.35 (กม.ที่ 16+700) – บ้านพันท้ายนรสิงห์ หรือซอยวัดพันท้ายนรสิงห์ ระยะทาง 11.969 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 12,759 คัน

อันดับ 6 ทางหลวงชนบท สค.4001 แยก ทล.3091 (กม.ที่ 5+600) – วัดหนองพะอง หรือถนนสวนหลวง ระยะทาง 6.685 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 10,435 คัน

อันดับ 7 ทางหลวงชนบท สค.3011 แยก ทล.375 (กม.10+950) – บ้านกระทุ่มแบน หรือถนนกระทุ่มแบน-บ้านแพ้ว ระยะทาง 15.160 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 9,244 คัน

อันดับ 8 ทางหลวงชนบท สค.4016 แยก ทล.3091 (กม.ที่ 15+100) – บ้านอำแพง หรือถนนเศรษฐกิจ-พันธุวงษ์ (เลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์) ระยะทาง 9.159 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 8,530 คัน

อันดับ 9 ทางหลวงชนบท สค.2013 แยก ทล.35 (กม.ที่ 31+400) – บ้านเกาะ หรือซอยวัดศิริมงคล ระยะทาง 7.599 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 8,174 คัน

อันดับ 10 ทางหลวงชนบท สค.2037 แยก ทล.35 (กม.ที่ 35+200) – บ้านบางยาง หรือถนนพระราม 2-สวนส้ม ระยะทาง 12.080 กิโลเมตร ปริมาณการจราจรเฉลี่ย (PCU) 8,038 คัน

สำหรับจังหวัดที่มีโครงข่ายสายทางกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ระยะทางรวมกันมากที่สุด 10 อันดับแรก

อันดับ 1 อุบลราชธานี มี 96 สายทาง รวม 1,737.775 กิโลเมตร (มีถนนลูกรัง 22.662 กิโลเมตร)

อันดับ 2 นครราชสีมา มี 76 สายทาง รวม 1,549.598 กิโลเมตร (ไม่มีถนนลูกรัง)

อันดับ 3 เชียงใหม่ มี 77 สายทาง รวม 1,372.301 กิโลเมตร (มีถนนลูกรัง 84.514 กิโลเมตร)

อันดับ 4 กาญจนบุรี มี 73 สายทาง รวม 1,286.494 กิโลเมตร (มีถนนลูกรัง 91.237 กิโลเมตร)

อันดับ 5 ร้อยเอ็ด มี 76 สายทาง รวม 1,269.103 กิโลเมตร (มีถนนลูกรัง 11.625 กิโลเมตร)

อันดับ 6 ศรีสะเกษ มี 86 สายทาง รวม 1,210.404 กิโลเมตร (มีถนนลูกรัง 43.583 กิโลเมตร)

อันดับ 7 บุรีรัมย์ มี 73 สายทาง รวม 1,170.063 กิโลเมตร (มีถนนลูกรัง 13.943 กิโลเมตร)

อันดับ 8 สกลนคร มี 64 สายทาง รวม 1,164.939 กิโลเมตร (ไม่มีถนนลูกรัง)

อันดับ 9 สระแก้ว มี 69 สายทาง รวม 1,144.164 กิโลเมตร (ไม่มีถนนลูกรัง)

อันดับ 10 อุดรธานี มี 61 สายทาง รวม 1,086.520 กิโลเมตร (มีถนนลูกรัง 7.497 กิโลเมตร)

จังหวัดที่มีโครงข่ายสายทางกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ระยะทางรวมกันน้อยที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร มี 3 สายทาง รวม 63.5 กิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนราชพฤกษ์ ถนนกัลปพฤกษ์ และถนนเลียบคลอง 13 หนองจอก

สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://maintenance.drr.go.th/?page_id=5911

กิตตินันท์ นาคทอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *