จับตา ครม.สัญจร “ประยุทธ์” ผลักดันสมุทรสาคร “ซีฟู้ดฮับ”-แก้ปมแรงงานต่างด้าว

รายละเอียดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จังหวัดสมุทรสาคร และเพชรบุรี โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ระหว่างวันที่ 5-6 มี.ค. นี้ ยังไม่ได้ข้อสรุป

Continue reading “จับตา ครม.สัญจร “ประยุทธ์” ผลักดันสมุทรสาคร “ซีฟู้ดฮับ”-แก้ปมแรงงานต่างด้าว”

อาลัย “ระพี สาคริก” ย้อนรอยบรรพบุรุษเชื้อสายเจ้าเมืองสาครบุรี

เช้าของวันที่ 17 ก.พ. 2561 ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ปราชญ์แผ่นดิน บุคคลสำคัญทางด้านการศึกษาและการเกษตร ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบที่บ้านพักย่านงามวงศ์วาน สิริอายุได้ 95 ปี

ถือว่าเป็นการสูญเสียปูชนียบุคคลสำคัญครั้งใหญ่ที่สร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล

เป็นที่ทราบกันดีว่า ศ.ระพี เป็นนักวิชาการเกษตรผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่สากล จนได้รับการกล่าวขานเป็น “บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย”

รวมทั้งเป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

และยังได้รับการยกย่องจากสื่อมวลชนให้เป็นหนึ่งในราษฎรอาวุโส เมื่อคราวเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535

แต่น้อยคนนักจะทราบได้ว่า สกุล “สาคริก” มีต้นตระกูลที่ตั้งรกรากและสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองสาครบุรี หรือ จ.สมุทรสาคร ในปัจจุบัน

ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) ผู้เป็นบิดาของ ศ.ระพี ได้เขียนบันทึกบอกเล่าถึงชีวิตของตนเองไว้ด้วยลายมือ

โดยพระมหาเทพกษัตรสมุห เกิดที่จวนเจ้าเมืองสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2441 ในครอบครัวของข้าราชการชนบท

มีบิดาคือ ขุนคลัง (หนู) เป็นนายอำเภอต้องย้ายไปประจำหลายท้องที่ กับนางคลัง (แก้ว) ต่อมาครอบครัวได้แยกทางกัน มารดาจึงได้พาไปอยู่ที่สมุทรสาครตั้งแต่วัยเพิ่งหัดคลาน

จนเมื่อพอจะรู้ความ มารดาก็ไปแต่งงานใหม่กับชาวสวนที่ธนบุรี แล้วให้อาศัยอยู่กับครอบครัวเจ้าของโรงขายยาฝิ่นแห่งหนึ่งริมคลองมหาชัย ข้างวัดใหม่คล้ายนิมิตร หรือวัดมหาชัยคล้ายนิมิตรในปัจจุบัน

ซึ่งครอบครัวดังกล่าวเคยเป็นทนายหน้าหอของหลวงอภัยสุนทร (ตาด) อดีตปลัดเมืองสาครบุรี ช่วงประมาณ พ.ศ. 2424 ที่มีศักดิ์เป็นปู่ของพระมหาเทพกษัตรสมุห และทวดของ ศ.ระพี

เมื่ออายุ 7 ปี พระมหาเทพกษัตรสมุหได้พบกับบิดาอีกครั้ง และย้ายไปอยู่ที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ต่อมาได้เข้ามาเรียนหนังสือที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย)

โดยมี พระยาบริหารราชมานพ (เนียน สาคริก) พี่ชายต่างมารดา ซึ่งรับราชการในราชสำนักอยู่ก่อนหน้า เป็นผู้นำเข้าถวายตัวเป็นข้าฯ ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในปี พ.ศ. 2461 จึงเริ่มรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ กรมมหาดเล็กหลวง กระทรวงวัง รับราชการถวายการรับใช้พระเจ้าแผ่นดินในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่ออายุ 38 ปี ได้ดำรงตำแหน่งกรมพระตำรวจในซ้าย ยศ ขุนตำรวจเอก บรรดาศักดิ์ พระมหาเทพกษัตรสมุห แต่แล้วเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จึงต้องออกจากราชการ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ได้สอบเข้ารับราชการที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงเศรษฐการ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย และองค์การสวนสัตว์ดุสิต

กระทั่งอายุมากจึงลาออก และใช้ชีวิตในบั้นปลายยืนยาวมาจนเกือบหนึ่งร้อยปีเต็ม ขาดเพียง 11 วัน โดยถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2541

ภาพซ้าย : พระยาบริหารราชมานพ (เนียน สาคริก) , ภาพขวา : พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก)

ที่มา : หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก)

จากหนังสืออนุสรณ์ฯ พระมหาเทพกษัตรสมุห ก็ได้บันทึกความเป็นมาของสกุล “สาคริก” ไว้อย่างน่าสนใจ

โดยระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงปราบปรามศึกสงครามจนค่อยสงบแล้ว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้พี่น้องสามคนชาวบางช้าง ที่มีความดีความชอบในราชการสงครามเป็นเจ้าเมือง

โดยพี่ชายคนใหญ่เป็นเจ้าเมืองสาครบุรี ต่อมาเป็นสมุทรสาคร เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล “สาคริก” พี่ชายคนกลางเป็นเจ้าเมืองสมุทรสงคราม เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล “ณ บางช้าง” และน้องคนเล็กเป็นเจ้าเมืองสงขลา เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล “ณ สงขลา”

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล “สาคริก” (Sagarik) ให้กับพระยาบริหารราชมานพ (เนียน สาคริก) ขณะที่มีบรรดาศักดิ์เป็น นายเสนองานประพาษ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2456 ที่ ต.อ่างศิลา จ.ชลบุรี

โดยทรงนำคำ “สาคร” จากชื่อเมืองสาครบุรี ซึ่งต้นตระกูลเคยเป็นเจ้าเมือง มาเติมสระ “อิ และ ก.” จึงเป็น “สาคริก” ซึ่งจะทำให้หมายถึงบุคคล เช่นเดียวกับคำว่า สถาปนา – สถาปนิก และพุทธศาสนา – พุทธศาสนิก

ดังนั้นเมื่อ “สาคร” หมายถึงทะเล “สาคริก” จึงหมายถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับทะเล คือเป็น “ชาวทะเล” หรือ “ลูกน้ำเค็ม” เช่นทหารเรือ ชาวเรือ (เดินทะเล) ชาวประมง ฯลฯ

เหตุที่ “สาคริก” มิได้ใช้ ณ สาคร เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งแก่พระยาบริหารราชมานพ ซึ่งเป็นผู้ขอพระราชทานว่า

“ความจริงเจ้าก็ควรจะใช้นามสกุลว่า ณ สาคร แต่เมื่อข้าได้ให้ใช้สาคริกไปแล้วก็เห็นว่าเก๋ดีเหมือนกัน อย่าน้อยใจเลย”

ทั้งนี้ พระยาบริหารราชมานพ ได้สร้างกุฏิสาคริก ณ วัดมหาชัยคล้ายนิมิตร ไว้เป็นอนุสรณ์แก่ตระกูลเมื่อปี พ.ศ. 2491

กุฏิสาคริก ภายในวัดมหาชัยคล้ายนิมิตร (ภาพจากเฟซบุ๊ก “ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก” ถ่ายไว้เมื่อเดือนสิงหาคม 2557)

นอกจากนี้ พระมหาเทพกษัตรสมุห ได้เขียนบรรยายสภาพบ้านเมืองสมุทรสาครเมื่อราว พ.ศ. 2447 ทั้งเรื่องของโรงขายยาฝิ่น ซึ่งสมัยนั้นกฎหมายได้อนุญาตให้มีการเสพฝิ่นและจำหน่ายฝิ่นภายในโรงขายยาฝิ่น

โดยในวัยเด็กได้ทำหน้าที่คอยยกสำรับฝิ่นให้กับลูกค้า และคอยระวังนักสูบฝิ่นไม่ให้ลักลอบนำขี้ยาที่ติดอยู่หัวกล้องสูบฝิ่นออกจากโรงขายยาฝิ่น ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย

รวมถึงประวัติความเป็นมาของปากแม่น้ำท่าจีนและตำบลท่าฉลอม เรื่องการทำโป๊ะดักปลาบริเวณปากอ่าวท่าจีน ซึ่งสมัยนั้นมีความอุดมสมบูรณ์

อีกทั้งเกี่ยวข้องกับตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมือง ที่ชาวประมงเคารพนับถือเพื่อส่งเสริมโชคลาภในการประกอบอาชีพ ฯลฯ อันเป็นประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองสมุทรสาครของคนรุ่นหลัง

ภาพถ่ายทางอากาศเมืองสมุทรสาคร ประมาณปี พ.ศ. 2489 โดย ปีเตอร์ วิลเลียมส์ – ฮันท์

สำหรับ ศ.ระพี สาคริก ถือเป็นผู้สืบสายสกุล สาคริก เป็นรุ่นที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2465 ที่ย่านวรจักร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ เป็นบุตรคนโตของพระมหาเทพกษัตรสมุห กับนางสนิท ภมรสูต

สมรสกับนางกัลยา สาคริก (มนตริวัต) บุตรของพลตำรวจตรีขุนพิชัยมนตรี อดีตหัวหน้าเสรีไทยค่ายกาญจนบุรี และรองอธิบดีตำรวจฝ่ายปราบปราม มีบุตร 4 คน เป็นชาย 3 คน และหญิง 1 คน

เมื่อปี พ.ศ. 2533 ศ.ระพี ได้ลาออกจากตำแหน่งประจำต่างๆ ทั้งภาคราชการ กึ่งราชการและภาคเอกชน เพื่อหันมาใช้ชีวิตที่สงบและเรียบง่าย เหลือเพียงการเป็นที่ปรึกษาให้วิทยาทานด้วยการบรรยาย สัมมนา โดยเฉพาะด้านการพัฒนาชนบทและเยาวชนที่เน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรม

ศ.ระพี ได้นอนพักรักษาตัวที่บ้านย่านบางเขน หลังมีอาการวูบขณะร่วมงานทางวิชาการงานหนึ่งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2559 จนต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในทันที

หลังแพทย์ตรวจรักษาพบเป็นเบาหวานและมีอาการทางสมอง คนไข้มีอาการเพ้อตลอดเวลา น่าจะเป็นอาการสับสนเฉียบพลัน ซึ่งเป็นปกติของผู้สูงอายุ และอาการป่วยดีขึ้นเป็นลำดับ ก่อนกลับมาพักรักษาตัวที่บ้านและถึงแก่อนิจกรรมในที่สุด

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพระบรมราชานุเคราะห์ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ศ.ระพี สาคริก เป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศาลาพ่วงจินดา วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ จากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 จะประกอบพิธีบรรจุศพ หลังสวดพระอภิธรรมเสร็จสิ้นต่อไป

– กิตติกร นาคทอง –

มาดู “ตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ” ที่ไปรษณีย์สมุทรสาคร สำหรับคนไม่อยู่บ้านประจำ

คนที่ใช้บริการที่ทำการไปรษณีย์สมุทรสาคร ถนนพระราม 2 เป็นประจำ จะได้เห็นตู้ ปณ. ที่มีลักษณะคล้ายกับตู้ล็อกเกอร์ สีแดงสดใสอยู่ที่หน้าทางเข้าที่ทำการไปรษณีย์ แต่ยังสงสัยว่ามันคืออะไร และใช้งานอย่างไร

Continue reading “มาดู “ตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ” ที่ไปรษณีย์สมุทรสาคร สำหรับคนไม่อยู่บ้านประจำ”

สมุทรสาครตกขบวน “ภาษีท่องเที่ยว” ซัดไม่เสมอภาค แต่ ททท. ยืนยันไม่ทอดทิ้ง

มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองรอง ที่ให้นำค่าใช้จากการท่องเที่ยวปี 2561 มาลดหย่อนภาษีสูงสุด 15,000 บาท ทั้งค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าบริการนำเที่ยว จังหวัดสมุทรสาครไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตรงนี้

Continue reading “สมุทรสาครตกขบวน “ภาษีท่องเที่ยว” ซัดไม่เสมอภาค แต่ ททท. ยืนยันไม่ทอดทิ้ง”

สาขาธนาคารสมุทรสาครทรงตัว ระทึกยุบสาขาอีกระลอก

จากการสำรวจของ “สาครออนไลน์” ณ เดือนมกราคม 2561 พบว่า ธนาคารพาณิชย์ที่มีจำนวนสาขามากที่สุด ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ 22 สาขา รองลงมาคือ ธนาคารกรุงเทพ และ ธนาคารกสิกรไทย 17 สาขา

Continue reading “สาขาธนาคารสมุทรสาครทรงตัว ระทึกยุบสาขาอีกระลอก”

ค่าจ้างขั้นต่ำ 325 บาท สมุทรสาครกระทบไหม?

ในที่สุดคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ 7 ระดับ 7 กลุ่มจังหวัด ต่ำสุด 308 บาท และสูงสุด 330 บาท ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561

Continue reading “ค่าจ้างขั้นต่ำ 325 บาท สมุทรสาครกระทบไหม?”

RAMA 2 ROAD TO THE FUTURE

เนื่องในโอกาสครบรอบ 8 ปี เว็บไซต์สาครออนไลน์ ขอนำเสนอ “RAMA 2 ROAD TO THE FUTURE” 45 ปีถนนพระราม 2 ย้อนอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อรำลึกถึงการก่อตั้งถนนพระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ) เส้นทางคมนาคมสายหลักจากกรุงเทพฯ สู่ภาคใต้ที่ประชาชนใช้สัญจรไปมาในปัจจุบัน

รู้จักที่พักแห่งใหม่ย่านโคกขาม “อินเตอร์เรสซิเดนซ์แอนด์โฮเทล”

ปลายปีที่แล้ว “สาครออนไลน์” ทราบว่าในพื้นที่ชานเมืองสมุทรสาคร มีโรงแรมเปิดใหม่ พิกัดใกล้กับวัดโคกขาม นิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร และ ร.ร.อัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2

ในชื่อ “อินเตอร์ เรสซิเดนซ์ แอนด์ โฮเทล” (Inter Residence & Hotel)

Continue reading “รู้จักที่พักแห่งใหม่ย่านโคกขาม “อินเตอร์เรสซิเดนซ์แอนด์โฮเทล””

ลุ้นอีก “มอเตอร์เวย์” วงแหวนฯ รอบ 3 เชื่อมพระราม 2-มหาชัย ถึงบางปะอิน

ชุมทางต่างระดับ ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก

กรมทางหลวง ได้ก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ถนนกาญจนาภิเษก สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นได้ในระดับหนึ่ง และคาดว่าจะเต็มความจุที่รองรับได้ในเร็วอนาคตอันใกล้

Continue reading “ลุ้นอีก “มอเตอร์เวย์” วงแหวนฯ รอบ 3 เชื่อมพระราม 2-มหาชัย ถึงบางปะอิน”

จังหวัดที่ถูกลืม “สมุทรสาคร” ไม่ใช่เมืองรอง ลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวไม่ได้

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2560 มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองรอง 55 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 31 ธ.ค. 2561

Continue reading “จังหวัดที่ถูกลืม “สมุทรสาคร” ไม่ใช่เมืองรอง ลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวไม่ได้”