สัมมนา “เครือข่ายผู้นำนักประชาธิปไตย” 2559 – “สุรชัย” บรรยายพิเศษ “ก้าวต่อไป สนช.”

COV

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและสร้างเครือข่ายในโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร “กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม”

ในระหว่างวันที่ 8 – 10 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา ณ ห้องแวนด้า แกรนด์ บอลรูม A ชั้น 5 โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์ โฮเทล ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และอาคารรัฐสภา กรุงเทพมหานคร

เนื่องจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาฯ ดำเนินการโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร “กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” ในทุกภูมิภาค

เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้และทัศนคติให้ประชาชนทั่วไปได้มีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ สนช. และการมีส่วนร่วมทางการเมือง

โดยในปีงบประมาณ 2559 ได้จัดอบรมไปแล้ว 10 ครั้ง รวม 30 จังหวัด มีผู้ผ่านการอบรมได้รับสัมฤทธิบัตรจำนวน 1,170 คน

สำหรับการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้ทำการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ได้นำความรู้ไปขยายผล ต่อยอดการจัดโครงการฯ และทำกิจกรรมต่างๆ

โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับจนได้รับการคัดเลือก จำนวน 210 คน และผู้ที่ได้รับรางวัลโครงการสนับสนุนเงินรางวัลในการจัดกิจกรรมของเครือข่ายผู้นำนักประชาธิปไตยวุฒิสภา จำนวน 24 คน รวมทั้งหมด 234 คน

Surachai_0-001

IMG_1447-001

IMG_1450-002

IMG_1526-003

IMG_1535-004

Surachai_1-002

ในพิธีเปิดการสัมมนาฯ มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธี

พร้อมด้วยนายพงษ์กิตติ์ อรุณภัคดีสกุล รองเลขาธิการวุฒิสภา, นายมิชาเอล วินเซอร์ ผู้แทนมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ ประจำประเทศไทย,

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์, พล.อ.ศุภวุฒิ อุตมะ, พล.ร.ท.สนธยา น้อยฉายา และนางวัชรี สินธวานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาฯ

Surachai_2-003

Surachai_3-004

Surachai_4-005

หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิด นายสุรชัยได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ก้าวต่อไปของ สนช. หลังร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ”

โดยกล่าวถึงความคืบหน้าสถานการณ์การเมือง ขณะนี้อยู่ในระยะที่ 3 ของการขับเคลื่อนประเทศไทย คือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ผ่านการทำประชามติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ผลการลงประชามติใน 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง สนช. เสียงส่วนใหญ่ได้ให้ความเห็นชอบทั้ง 2 ประเด็น

ขณะนี้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้นำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ ไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นคำถามพ่วงเรียบร้อยแล้วในบทเฉพาะกาล เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องหลังจากรอคอยมาเป็นเวลายาวนาน

ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นครั้งแรกที่เขียนเรื่องปฏิรูปประเทศลงในรัฐธรรมนูญ อยู่ในหมวด 16 โดยได้เขียนบทกำกับไว้ 2-3 เรื่อง

เรื่องแรกคือกรอบเวลา หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายสำคัญ 2 เรื่อง คือกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ และกฎหมายว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติ ภายใน 120 วัน อีกทั้งหลังจากออกกฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าว รัฐบาลต้องลงมือปฏิรูปประเทศภายใน 1 ปี และต้องให้เห็นผลสำเร็จภายใน 5 ปี

ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศไทยในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครอง สังคม หรือเศรษฐกิจ

เรื่องที่สอง เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง และไม่ให้ผู้ที่มาบริหารประเทศหลังการเลือกตั้ง ละเลยไม่ทำหน้าที่เหมือนครั้งรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ซึ่งมีนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐแต่ก็ไม่ได้ทำ

ครั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในมาตรา 275 รัฐบาลในอนาคตต้องมารายงานความคืบหน้าในการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาทุก 3 เดือน และสมาชิกวุฒิสภา จะคอยกำกับ ตรวจสอบ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ รวมถึงเลือกนายกรัฐมนตรีตามคำถามพ่วง

เพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีที่สามารถทำงานร่วมกับรัฐสภา ในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องได้

อีกทั้ง สนช. ยังมีภารกิจที่จะต้องรับผิดชอบในช่วงเปลี่ยนผ่านการปฏิรูปประเทศ จากรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ

ที่กำหนดให้ สนช. ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่ามีสภาชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้ง ส.ส. ช่วงปลายปี 2560 ต่อด้วยการคัดเลือก ส.ว. เสร็จสิ้น และประชุมรัฐสภาใหม่ เมื่อนั้น สนช. จึงจะสลายตัว

ในระยะปีเศษจากนี้ สนช. มีภารกิจที่จะต้องรับผิดชอบ ด้วยการออกกฎหมายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

เพราะมีบทเรียนจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ที่ทิ้งค้างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลหน้าเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งก็ไม่ได้ออกกฎหมายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือออกไม่ครบถ้วน ทำให้กลไกการบริหารราชการแผ่นดินเดินได้ไม่เต็มสูบ

อีกประการหนึ่ง เพราะรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนกฎกติกาในหลายเรื่อง เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิรูปประเทศ ซึ่งจะต้องเปลี่ยนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกัน เช่น วิธีการเลือกตั้ง ส.ส. กติกาเกี่ยวกับพรรคการเมือง ฯลฯ

และการปฏิรูปประเทศ ที่รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าไม่ได้เขียนไว้ แต่ไปอยู่ในหมวดว่าด้วยนโยบายพื้นฐานของรัฐซึ่งก็ไม่ได้ทำ จึงได้เปลี่ยนเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

สนช. จึงมีกฎหมายที่จะต้องออกทั้งสิ้น 22 ฉบับ โดยมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 10 ฉบับ แต่ในรัฐธรรมนูญมีเงื่อนไขว่าให้ออกกฎหมายที่เป็นกลไกและวางกติกาการเลือกตั้งให้เสร็จก่อน 4 ฉบับ

ได้แก่ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

ซึ่ง กรธ. เป็นผู้รับผิดชอบยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับให้เสร็จภายใน 240 วัน และ สนช. จะนำไปพิจารณาในอีก 60 วัน เมื่อเสร็จเรียบร้อยจึงนำไปสู่การเลือกตั้งภายใน 150 วัน

นี่คือเส้นทางเดินจากนี้ไปของประเทศไทย ขณะนี้รัฐธรรมนูญอยู่ระหว่าง กรธ. ส่งร่างฯ ที่แก้ไขใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบภายใน 30 วัน ถ้าถูกต้องเรียบร้อยจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ

ซึ่งกระบวนการต่างๆ เหล่านี้น่าจะเสร็จในเดือน พ.ย. – ธ.ค. 2559 และจะมีการเลือกตั้งปลายปี 2560

ทั้งนี้ นายสุรชัยได้ฝากเรื่องเครือข่ายผู้นำนักประชาธิปไตย นำไปช่วยกันคิดใน 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องการเลือกตั้ง ส.ส. ในรัฐธรรมนูญได้กำหนดวิธีการอย่างไร และคิดว่าควรมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

เรื่องที่มาของ ส.ว. ซึ่งกำหนดไว้ 2 ประเภท คือ การคัดสรร และการเลือกตั้งกันเองของกลุ่มอาชีพ คิดว่าควรจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร

เรื่อง กกต. อำนาจหน้าที่ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มีจุดอ่อน – ช่องโหว่ ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปต้องไม่ใช้เงินต่อสู้กัน ในที่สุดกลายเป็นการเลือกตั้งของกลุ่มทุน ประชาชนระดับล่างไม่มีโอกาสเลยที่จะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง

และ เรื่องพรรคการเมือง ทำอย่างไรจะทำให้พรรคกลายเป็นสถาบันการเมือง ให้การเมืองมีเสถียรภาพ ผ่านพรรคการเมืองที่ดี มีอุดมการณ์ มีนโยบายที่ดี จริงใจกับประชาชน

Surachai_5-006

นอกจากนี้ ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการตลอด 3 วัน มีการบรรยายในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ พระมหากษัตริย์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดย พ.อ.วรวุฒิ แสงทอง นายทหารปฎิบัติการประจำมณฑลทหารบกที่ 11 ช่วยราชการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า,

กฎหมายใกล้ตัว โดย นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย และเคล็ดลับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้นำนักประชาธิปไตย โดย นพ.ปัญญา ไข่มุก

IMG_1608-005

IMG_1624-006

IMG_1693-007

IMG_1704-008

IMG_2812-009

กิจกรรมนำเสนอผลงานของเครือข่ายผู้นำนักประชาธิปไตย ทั้ง 30 จังหวัด และผู้ได้รับการสนับสนุนฯ กิจกรรมสังสรรค์เครือข่ายส่งเสริมวัฒนธรรมไทย

IMG_1765-001

IMG_1769-002

IMG_1833-003

IMG_1887-004

IMG_1970-005

IMG_2092-006

IMG_2102-001

การนำผู้เข้าร่วมสัมมนาไปเข้ารับฟังการประชุม สนช. เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์รัฐสภา, การศึกษาเส้นทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย

27746-001

27754-002

27766-003

การร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมเยี่ยมชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง

IMG_2197-002

IMG_2329-003

IMG_2375-001

IMG_2398-002

IMG_2407-003

IMG_2466-004

กิจกรรมสังสรรค์ “เครือข่ายฯ ก้าวไกลสู่สากล” ณ ห้องชมวัง หอประชุมกองทัพเรือ

IMG_2544-005

IMG_2550-006

IMG_2608-006

IMG_2653-009

IMG_2690-011

IMG_2782-012

ในวันสุดท้าย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธีปิดการสัมมนาฯ พร้อมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ผ่านการสัมมนาฯ ดังกล่าว ร่วมกับ พล.อ.ดนัย มีชูเวท และ พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

IMG_2844-001

IMG_2880-002

IMG_2887-003

IMG_2901-004

IMG_2908-005

IMG_2928-006

ซึ่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หวังว่าการจัดสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นการเผยแพร่บทบาทของ สนช. เสริมสร้างความเข้าใจในการเมืองและสร้างเครือข่ายฯ เข้มแข็งที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับในอนาคตต่อไป

สาครออนไลน์ โดย สุรางค์ นาคทอง และ กิตติกร นาคทอง



แสดงความคิดเห็น


เงื่อนไขในการแสดงความคิดเห็น
• กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำที่สุภาพ โปรดงดเว้นการใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
• การลบความคิดเห็น ที่ไม่เหมาะสม สามารถกระทำได้ทันที โดยไม่ต้องมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
• ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้

เรื่องก่อนหน้า-ย้อนหลัง