ตามดูภารกิจเพาะพันธุ์ “ปลาการ์ตูน” ที่ศูนย์วิจัยประมงชายฝั่งมหาชัย

1111-2

จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่ติดชายทะเลอ่าวไทย อยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย และใกล้เมืองหลวงที่สุด ห่างจากกรุงเทพมหานครเพียงประมาณ 30 กิโลเมตร ปัจจุบันนับเป็นแหล่งอาหารทางทะเลที่สำคัญ

จากเหตุผลสำคัญดังกล่าว กรมประมงจึงตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร” ขึ้นที่ หมู่ที่ 8 ต.โคกขาม อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร พร้อมกับสร้างศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำเป็นแหล่งการเรียนรู้ขึ้นในบริเวณเดียวกัน

1111-1

เป้าหมายหลักของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งคือ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยั่งยืน ผลผลิตปลอดภัยและมั่นคง บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โดยภารกิจหลักคือ ขยายเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำเสียเป็นส่วนใหญ่ สลับกับการผลิตงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหารองรับความเสื่อมผิดปกติของน้ำทะเลในย่านอ่าวไทย

ทุกวันนี้ยังคงเดินหน้าศึกษาผลิตภัณฑ์ทั้งกุ้งและปลา ทั้งกุ้งแชบ๊วย และกุ้งกุลาดำ ก่อนปล่อยลงทะเลเพื่อทดแทนทรัพยากรทางทะเลที่ถูกจับมาเป็นอาหารรับประทานจนปริมาณสัตว์น้ำลดลงโดยลำดับ

1111-3

ปัจจุบันศูนย์ยังมีภารกิจ “เพาะเลี้ยงลูกปลาการ์ตูน” สัตว์น้ำทะเลสวยงามเพื่อจำหน่ายแก่ผู้ชื่นชอบ หลังจากศูนย์สามารถเพาะพันธุ์เองได้สำเร็จ โดยมี “พรทิพย์ ทองบ่อ” เจ้าหน้าที่ชำนาญการฝ่ายงานประมง เป็นผู้ดูแลโครงการ ส่งผลให้มีรายได้เข้าศูนย์เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายภายในไม่น้อยกว่าแสนบาทต่อเดือน

พรทิพย์เล่าว่า ที่ผ่านมามีผู้คนหมุนเวียนกันเข้ามาชมการทำงานของศูนย์และศึกษาความรู้กันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีบรรดาพ่อค้าผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาเข้ามาหาซื้อลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำและกุ้งแชบ๊วย เพื่อนำออกไปเลี้ยงลงบ่อเพื่อการจำหน่าย

1111-4

“มีผู้สนใจเข้ามาหาซื้อปลาการ์ตูนที่ศูนย์ไปเลี้ยง ทั้งจำหน่ายต่อและเลี้ยงดูเล่น เนื่องจากเป็นสัตว์ทะเลที่มีความสวยงามน่ารักเหมือนตัวการ์ตูน ส่วนสนนราคาขายออกไปราคาไม่สูงกว่าท้องตลาด เพราะเราสามารถผลิตได้เอง โดยมียอดผลิตปีละนับ 10 ล้านตัว”

ส่วนลูกกุ้งทั้ง 2 ชนิด ผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 50 ล้านตัวต่อปี ซึ่งมีทั้งจำหน่ายเป็นทุนเข้ามาใช้จ่ายของศูนย์และแจกฟรีให้หน่วยงานต่างๆ นำไปทำกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงทะเลเพื่อทำโครงการรณรงค์ปล่อยสัตว์น้ำต่างๆ ทุกปี

1111-5

“อย่างเช่นล่าสุดวันสำคัญคือโครงการปล่อยพันธุ์กุ้งแชบ๊วย ที่คลองสุนัขหอน บริเวณหน้าวัดบัณฑูรย์สิงห์ ต.บางโทรัด อ.เมืองสมุทรสาคร โดยทางราชการขอเข้ามา 4 ล้านตัว เพื่อปล่อยลงทะเล ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 5 ธันวาคม 2556 วันพ่อแห่งชาติ เฉพาะปี 2556 เราบริจาคพันธุ์สัตว์น้ำไปทั้งหมดราว 25 ล้านตัวในพื้นที่”

สำหรับผู้สนใจเลี้ยงปลาการ์ตูน สามารถเดินทางเข้ามาศึกษาขั้นตอน ทั้งการดูแลความสะอาดของน้ำ ควบคุมระดับความเค็มของน้ำ ซึ่งไม่ยากนัก ตลอดจนรู้ประวัติและนิสัยของปลาการ์ตูน เป็นต้น

1111-6

ทั้งนี้ เราพบปลาการ์ตูนอยู่ 28 ชนิด แยกเป็นสกุล amphiprion 27 ชนิด และสกุล premnas 1 ชนิด ได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดีย ปลาการ์ตูนลานปล้อง ปลาการ์ตูนลายปล้องทางเหลือง และการ์ตูนแดงดำ

ในอ่าวไทยมี 2 ชนิด คือปลาการ์ตูนอานม้อและปลาการ์ตูนอินเดียนแดง โดยธรรมชาติปลาการ์ตูนแต่ละชนิดมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ ประกอบด้วย สีส้ม แดง ดำ เหลือง และส่วนใหญ่มีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ

1111-7

พรทิพย์ทิ้งท้ายว่า เรามีหนังสืออธิบายการสอนให้ มารับได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร หรือโทรศัพท์มาสอบถามได้ที่ 0-3485-7130 และ 0-3442-6220 ยินดีให้ข้อมูลสำหรับผู้สนใจ

• มานพ พฤฒิวโรดม •



1 ความคิดเห็น เรื่อง “ตามดูภารกิจเพาะพันธุ์ “ปลาการ์ตูน” ที่ศูนย์วิจัยประมงชายฝั่งมหาชัย”

  1. เบต กล่าวว่า:

    ม.ค. 23, 15 at 9:18 am

    อยากทราบว่า มีน้ำทะเล ขาย ไม่ครับ ขายยังไง ราคาเท่าไหร่ ภายชนะ ต้องเอาไปเองหรือเปล่าครับ


แสดงความคิดเห็น


เงื่อนไขในการแสดงความคิดเห็น
• กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำที่สุภาพ โปรดงดเว้นการใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
• การลบความคิดเห็น ที่ไม่เหมาะสม สามารถกระทำได้ทันที โดยไม่ต้องมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
• ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้

เรื่องก่อนหน้า-ย้อนหลัง